พันธมิตรชานม คืนชีพ หลัง เพโลซีเยือนไต้หวัน ประเทศกลุ่มพันธมิตรเกาะติดสถานการณ์พร้อมส่งกำลังใจให้ไต้หวันอย่างใกล้ชิด จากกรณีที่ แนนซี เพโลซี เยือนไต้หวัน เมื่อช่วงเวลาประมาณ 22.44 น. ตามเวลาท้องถิ่น เครื่องบินโบอิ้ง C-40 C ,SPAR19 ของกองทัพอากาศสหรัฐฯ ลงจอดที่ไต้หวัน โดยไม่สนคำขู่ของจีน ล่าสุดชาวไทย ไต้หวัน เมียนมา ได้กลับมาเขียนข้อความโดยติดแท็ก #MilkTeaAlliance หรือ พันธมิตรชานม
ชาวเน็ตได้เขียนสรรเสริญการเยือนไต้หวันของเพโลซี และส่งกำลังใจให้ไต้หวัน รวมถึงติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด
สำหรับ พันธมิตรชานม หรือ Milk Tea Alliance เกิดขึ้นหลังจาก ไบร์ท วชิรวิชญ์ ชีวอารี ได้โพสต์ระบุว่า ไต้หวันเป็นประเทศ และสร้างความไม่พอใจกับชาวเน็ตจีนที่มุด VPN เข้ามาด่า ไบรท์ เป็นจำนวนมาก
จนกลายเป็นการปะทะคารมระหว่างชาวไทย แฟนคลับของไบรท์ และ ชาวเน็ตจีน ก่อนจะพัฒนาเป็นการเดินหน้าเรียกร้อง ประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชนในไต้หวัน ไทย และ เมียนมา รวมถึงประเทศอื่นๆในเอเชียและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ย้อนกลับไปถึงเหตุการณ์ที่น่าจะตอบคำถาม ทำไมแนนซีไปเยือนไต้หวันได้ ในปี พ.ศ. 2534 หรือ ค.ศ. 1991 เมื่อ 31 ปีก่อนที่แนนซี เพโลซียังดำรงตำแหน่งเป็นสภาผู้แทนราษฎรจากพรรคเดโมแครต
เธอได้ร่วมเดินทางไปกับคณะสภาผู้แทนสหรัฐท่านอื่นที่จัตุรัสเทียนอันเหมิน ซึ่งเป็นสถานการณ์ที่เกิดเหตุการณ์สะเทือนขวัญทางการเมืองที่เรียกว่า การประท้วงที่จัตุรัสเทียนอันเหมิน หรือ เหตุการณ์ 4 มิถุนายน ที่กรุงปักกิ่ง ปี พ.ศ.2532
เหตุการณ์ 4 มิถุนายน ได้ทำให้เกิดการนองเลือดในแผ่นดินใหญ่เกิดขึ้น ถูกเรียกในอีกชื่อหนึ่งว่า การสังหารหมู่ที่จัตุรัสเทียนอันเหมิน แนนซี เพโลซี และคณะได้เดินทางไปที่จัตุรัสเทียนอันเหมิน เพื่อสนับสนุนประชาธิปไตย
ทว่าเธอและคณะกลับโดนทางรัฐบาลจีนพยายามปิดกั้นจนถึงที่สุด จากเหตุการณ์ดังกล่าวอาจเป็นชนวนของ สาเหตุ แนนซี เพโลซี เยือนไต้หวัน ทำไมในครั้งนี้ด้วยก็ได้ สำนักข่าวหลายแห่งจึงเชื่อว่า การเดินทางมาเยือนไต้หวันในครั้งนี้ของแนนซี เพโลซี เป็นการตอกย้ำถึงการสนับสนุนการเคลื่อนไหวด้านประชาธิปไตยอย่างเช่นที่เธอเคยทำที่กรุงปักกิ่ง
สุดท้ายนี้สิ่งหนึ่งที่ยืนยันได้อย่างแน่นอนคือ รัฐบาลสหรัฐฯ ขณะที่ โจ ไบเดน ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีอยู่ ไม่ได้สนับสนุนการมาเยือนไต้หวันในครั้งนี้ของแนนซี เพโลซี สาเหตุที่แนนซี เพโลซีเยือนไต้หวันในครั้งนี้ เพราะแนนซีต้องการที่จะให้ทางการจีนเห็นว่า เธอสนับสนุนแนวคิดประชาธิปไตยของไต้หวันเท่านั้น.
‘แนนซี เพโลซี’ ลั่นหนุนสิทธิมนุษยชน ยกเหตุ นองเลือดจตุรัสเทียนอันเหมิน
กลายเป็นเรื่องฮือฮาหลัง แนนซี เพโลซี กล่าวสนับสนุนสิทธิมนุษยชน พร้อมยกเหตุ นองเลือดจตุรัสเทียนอันเหมิน เหตุที่จีนพยายามลบ เมื่อวันที่ 3 สิงหาคม สำนักข่าว CNN รายงานว่า แนนซี เพโลซี ประธานสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐอเมริกา ที่ขณะนี้ แนนซี เพโลซี เยือนไต้หวันและอยู่ในระหว่างการเข้าพบกับวุฒิสมาชิกไต้หวัน ก่อนที่จะมีกำหนดเข้าพบ ไช่ อิงเหวิน ประธานาธิบดีไต้หวัน หลังจากนี้
นาง เพโลซี กล่าวว่าเธอรู้สึกว่าการที่ ไต้หวันพูดว่าสหรัฐฯเป็นมิตรที่ดีของไต้หวัน เป็นเหมือนคำชมที่ยอดเยี่ยม โดย ไช่ ชิ-ชาง ได้ขอบคุณนาง เพโลซี ที่เดินทางมาเยือนไต้หวัน และยังได้กล่าวชื่นชมว่าไต้หวันเป็นหนึ่งในสังคมอิสระ ที่ประสบความสำเร็จในการแก้ปัญหาโควิด ซึ่งเป็นปัญหาด้านสาธารณสุข ความมั่นคง เศรษฐกิจ และปัญหาการปกครอง
นอกจากนี้ ประธานสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐอเมริกา ยังกล่าวถึงเหตุ นองเลือดจัตุรัสเทียนอันเหมิน เหตุนองเลือดที่ทางการจีนไม่เคยกล่าวถึงและมีผู้เสียชีวิตหลายพันศพ ว่า เธออยากให้นึกย้อนถึงจัตุรัสเทียนอันเหมิน นั่นเป็นเรื่อง 30 ปีที่แล้ว พวกเราเคยไปที่นั่นเพื่อสนับสนุนสิทธิมนุษยชน
สำหรับประโยคข้างต้นนี้ นาง เพโลซี กำลังหมายถึงหมายถึงการที่เธอเคยกางแผ่นป้ายเล็กๆในกรุงปักกิ่ง และมีข้อความระบุว่า “อุทิศให้แก่ผู้ที่เสียชีวิตเพื่อประชาธิปไตยในจีน” โดยเหตุการณ์ในครั้งนั้นเกิดขึ้นในปี 2534 สองปีหลังเหตุ นองเลือดจัตุรัสเทียนอันเหมิน
ประวัติ แนนซี เพโลซี ประธานสภาคองเกรส เธอมีความเป็นมา และความสำคัญอย่างไรกับการเมืองโลกบ้าง ที่นี่มีคำตอบ หลังจากที่ แนนซี เพโลซี ประธานสภาสหรัฐ ได้เดินทางไปเยือนไต้หวันในวันที่ผ่านมา ทำให้เกิดเหตุข้อพิพาทต่าง ๆ จากประเทศจีน หลายคนอาจจะสงสัยเกี่ยวกับประวัติ ความเป็นมาของประธานสภาสหรัฐหญิงท่านนี้ วันนี้ The Thaiger จึงได้รวบรวมข้อมูล ประวัติ แนนซี เพโลซี (Nancy Pelosi) มาให้ทุกท่านได้อ่านกันแล้วครับ ว่าเธอคนนี้คือใคร มีความสำคัญอย่างไรกับบทบาทการเมืองสหรัฐ และจีน ไต้หวันเวลานี้
แนนซี เพโลซี (Nancy Pelosi) หรือ แนนซี แพทริซีย ดีอาเลซานโดร เพโลซี (Nancy Patricia D’Alesandro Pelosi) เกิดที่เมืองบัลติมอร์ รัฐแมริแลนด์ ประเทศสหรัฐอเมริกา ในวันที่ 26 มีนาคม ปี ค.ศ. 1940
แนะนำ : ดูดวงไพ่ยิปซี | รีวิวที่พัก | รีวิวคาเฟ่ | วิธีลดน้ำหนัก | รีวิวอนิเมะ ญี่ปุ่น